วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

คำนมัสการคุณานุคุณ

 คำนมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
๑.      ความเป็นมา

คำนมัสการคุณานุคุณที่คัดมาให้ศึกษามีเนื้อหาแบ่งออกเป็น ๕ ตอน แต่ละตอนมีที่มาจากคาถาภาษาบาลี ดังนี้  อ่านเพิ่มเติม

อิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง

 อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมืองของชาวชวา  เอกสารที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
  ๒.๑ ความเป็นมา
  ๒.๒ ประวัติผู้แต่ง

  ๒.๓ ลักษณะคำประพันธ์ อ่านเพิ่มเติม

นิทานเวตาล

นิทานเวตาล (สันสกฤตवेतालपञ्चविंशति เวตาลปัญจวิงศติ แปลว่า นิทานเวตาล 25 เรื่อง) เป็นวรรณกรรมสันสกฤตโบราณ ซึ่งเล่าขานโดยกวีชื่อ ศิวทาส และได้ถูกเล่าขานกันต่อมากว่า 2,500 ปีล่วงมาแล้ว โครงเรื่องหลักของนิทานเรื่องนี้เป็นเรื่องการโต้ตอบตอบปัญหาระหว่างพระวิกรมาทิตย์ กษัตริย์แห่งกรุงอุชชิยนี กับเวตาล ปีศาจที่มีร่างกายกึ่งมนุษย์กับค้างคาว ซึ่งจะนำเข้าไปสู่นิทานย่อยต่างๆ ที่แทรกอยู่ในเรื่องนี้รวม 25 เรื่อง ลักษณะดังกล่าวคล้ายกับนิทานอาหรับราตรี หรือ "พันหนึ่งราตรี" ซึ่งเป็นนิทานชุดในซีกโลกอาหรับที่ได้รับความนิยมอย่างมากอีกชุดหนึ่ง อ่านเพิ่มเติม

นิราศนรินทร์คําโคลง

ความเป็นมา
      นิราศ เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ โคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา
๑.๑ ลักษณะของนิราศ

      พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ อธิบายว่า “นิราศ” หมายถึง .เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่างๆ อ่านเพิ่มเติม

หัวใจชายหนุ่ม

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๖  แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์  เสด็จพระราชสมภพ  เมื่อวันเสาร์ที่      มกราคม   พ.ศ. ๒๔๒๓ ทรง เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้รับพระราชทานนามว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ  และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดี  ทำให้ทรงมีพระเกียรติยศเป็นชั้นที่ ๒ รองจาก อ่านเพิ่มเติม

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ผู้แต่ง
                      สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 

ประวัติผู้แต่ง
                      สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงเป็นพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นผู้ถวายพระนามว่า อ่านเพิ่มเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

มงคลสูตรคําฉันท์

มงคลสูตรคำฉันท์  เป็นวรรณคดี  คำสอน  ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรม ที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ ไพเราะ  มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย  สามารถจดจำได้ง่าย  มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติ ปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น  หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลย
         ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
       ลักษณะคำประพันธ์ :  กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ แทรกคาถาบาลี
       จุดมุ่งหมายในการแต่ง : เพื่อให้ตระหนักว่าสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใดก็เพียงผลมาจากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้นไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่เราได้  นอกจากตัวเราเอง
        ความเป็นมา
         เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเภทคำฉันท์  โดยใช้คำประพันธ์ ๒ ชนิดคือ  กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย  ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี  การจัดวางลำดับของมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง
“อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา อ่านเพิ่มเติม

มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก

ประวัติผู้แต่ง

       มหาเวสสันดรชาดก มีผู้นิยมแต่งมากมาย กัณฑ์ละหลายสำนวน ในที่นี้จะกล่าวถึงผู้แต่งร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก เป็นตัวอย่าง ๔ กัณฑ์ จากทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์

๑ สำนักวัดถนน - กัณฑ์ทานกัณฑ์

                 ด้วยเหตุที่ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่าผู้แต่งเป็นใคร ทราบเพียงแต่ว่าเป็นภิกษุที่อยู่วัดถนน  ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสีกุก  อันเป็นเขตติดต่อระหว่างจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดอ่างทองจึงใช้ชื่อผู้แต่งกัณฑ์ทานกัณฑ์ว่า สำนักวัดถนน แทนชื่อผู้แต่ง อ่านเพิ่มเติม